วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่5

สรุป
บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
การแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์กร เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะคือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ โครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำออกเป็น 3 ประเภท แบบจำลองการจัดข้อมูลลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งหรือทำหน้าที่สร้าง ควบคุมและดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่าชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ภาษาสำหรับนิยามข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA


บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
1.            เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง?
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization)
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )
2.            จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ      - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่น เหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวก ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับ ปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับ หรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ  ตลอด จนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูล มีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมี ความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมี ประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ  เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
- มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มี เทคโนโลยีสูง  และผู้ใช้ต้องมีทักษะในการทำงาน มากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
3.            ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน?
ตอบ    ฐาน ข้อมูล  (Database)  หมาย ถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน   ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อ ที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่าง เช่น  องค์การจะมีบานข้อมูลของบุคลากรซึ่งเก็บข้อมูล ของพนังงานไว้รวมกัน
4.            เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )
5.            จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท?
ตอบ      5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น    เครือข่าย          เชิงสัมพันธ์
           
                       5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
สูง                   ค่อน ข้างสูง                 ต่ำ (กำลังพัฒนา)
          5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ                     ค่อน ข้างต่ำ                สูง หรือต่ำ
          5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน

             ต่ำ                    ปานกลาง                    สูง
6.            ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่ สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบ ฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำ ข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดย ที่  DBMS  จะทำหน้าที่เสมือน ตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับ หน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบ ด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  )
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )
7.            จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วย ให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใขระบบได้ง่าย
8.            นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง?
ตอบ        1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
 2 . พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
 3 . จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
 4 . ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
 5 . ประสานงานกับผู้ใช้
9.            เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร?
ตอบ   เพื่อ ความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบ ใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ

10.    จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบ ฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจาก ความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำ ให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น