วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 4

สรุป

                การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การและระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือ ผู้ใช้ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ คือสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการ ระบบในปัจจุบันมีขั้นตอนในการทำงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน และระบบปัจจุบันมีการทำงานที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
                1.ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                2. การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกต้อง
                3. มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
                4. เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
                5. มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
                6. มีการตรวจสอบหลักการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                7. มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
            8. การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
                ปกติทีมงานพัฒนาระบบประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้ คณะกรรมการ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล และผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป โดยที่การพัฒนาระบบจะสามารถทำได้อยู่ 4 วิธี คือ
                1. วิธีเฉพาะเจาะจง
                2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
                3. วิธีจากล่างขึ้นบน
                4. วิธีจากบนลงล่าง
                การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการที่ใหญ่แบ่งออกได้เป็นหลายขั้นตอน การที่จะพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ทีมพัฒนาระบบจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาเป็นอย่างดีเพื่อให้รู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานแต่ละคน ซึ่งกระบวนการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
                1. การสำรวจเบื้องต้น
                2. การวิเคราะห์ความต้องการ
            3. การออกแบบระบบ
                4. การจัดหาอุปกรณ์
                5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา

แบบฝึกหัด

1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
     ตอบ     1.1 สารสนเทศที่องค์การหรือหน่วยงานต้องการ แต่ยังไม่มีระบบใดในปัจจุบันที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น
                1.2 ผู้ใช้ระบบไม่พอใจต่อสิงใด ขั้นตอนหรือส่วนประกอบใดในระบบปัจจุบัน เป็นต้นว่า ระบบเดิมมีการทำงานที่ยุ่งยากหรือมีหลายขั้นตอนในการเข้าถึงและจัดการข้อมูล ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลานานและสารสนเทศที่ได้มาอาจมีความผิดพลาดไม่ทันเวลา หรือไม่ตรงตามความต้องการ
                1.3 ผู้ใช้ระบบมีความต้องการให้ระบบใหม่มีรูปแบบและคุณลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และสามารถทำงานได้อย่างไร

2. ปัจจัยที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
     ตอบ     1.ผู้ใช้ระบบ ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                2. การวางแผน การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกต้อง
                3. การทดสอบ มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
                4. การจัดเก็บเอกสาร เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
                5. การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
                6. การตรวจสอบและการประเมินผล มีการตรวจสอบหลักการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                7. การบำรุงรักษา มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
            8. อนาคต การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต

3. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง และเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม
        ตอบ     มีลักษณะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การขนาดใหญ่จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน
                ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการการดำเนินงาน มีหน้าที่ ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ เป็นบุคคลที่สำคัญมีหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผนงาน
3. ผู้จัดการโครงการ มีหน้าที่ รับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมงาน
4. นักวิเคราะห์ระบบ เป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดผลงานขึ้นในขั้นตอนต่างๆของการพัฒนาระบบ
5. นักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งการดำเนินงานให้กับระบบที่กำลังพัฒนา
6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล ทำหน้าที่ ช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรมในการพัฒนาระบบ
7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป เป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงาน
                เหตุที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตการงานที่หลากหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน ดังนั้นความรู้ ทักษะ และความเข้าใจเพียงคนเดียวจึงไม่เพียงพอ

4. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
     ตอบ     วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมี 4 วิธี ดังนี้
1. วิธีเฉพาะเจาะจง เป็นวิธีการแก้ปัญหาในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างรวดเร็ว
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในหลายองค์การที่ยังไม่มีความต้องการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
3. วิธีจากล่างขึ้นบน การพัฒนาระบบสารสนเทศจากระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ
4. วิธีจากบนลงล่าง เป็นการพัฒนาระบบจากนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง

5. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
      ตอบ     การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
4. การจัดหาอุปกรณ์
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา

6. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
     ตอบ      การสำรวจเบื้องต้นเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน

7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
       ตอบ       การวิเคราะห์ความต้องการ เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้

8.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
      ตอบ     การออกแบบระบบ ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆของระบบสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆสำหรับนำมาพัฒนาระบบใหม่

9.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
   ตอบ         การจัดหาอุปกรณ์ของระบบจะต้องทำการกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนการบริการต่างๆที่ต้องการจากผู้ขาย ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละราย

10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
     ตอบ        การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา และต้องทดสอบการใช้งานว่าระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบ

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น